ประเพณีประจำจังหวัด


1.ประเพณีรับบัวโยนบัว





ประเพณีรับบัวโยนบัวเป็นประเพณีประจำท้องถิ่นของชาวอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นประเพณีเก่าแก่ที่สืบทอดมาแต่โบราณ โดยมิได้ปรากฏหลักฐานว่ามีมาแต่ยุคใดสมัยใด มีข้อสันนิษฐานความเป็นมาจากผู้เฒ่าผู้แก่บางพลีว่า เกิดขึ้นประมาณ 80 ปีมาแล้ว เพื่อเป็นการนมัสการหลวงพ่อโต เล่ากันว่าเป็นพี่น้องกับหลวงพ่อโสธรแปดริ้ว และหลวงพ่อวัดบ้านแหลมสมุทรสงคราม


2.นมัสการพระเจดีย์กลางน้ำ





งานนมัสการพระเจดีย์กลางน้ำ หรือพระสมุทรเจดีย์ ถือเป็นปูชนียสถานคู่บ้านคู่เมือง และเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดสมุทรปราการ ตั้งอยู่ที่ตำบลปากคลองบางปลากด อำเภอพระสมุทรเจดีย์ บริเวณฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามกับศาลากลางจังหวัด โดยมีแม่น้ำเจ้าพระยาคั่นกลาง… พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดเกล้าฯ? ให้สร้างพระสมุทรเจดีย์ขึ้น และแล้วเสร็จในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อแรกสร้างเป็นเจดีย์ทรงระฆังย่อมุมไม้สิบสอง สูง 27.75? เมตร เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่ต่อมาถูกคนร้ายขโมยไป ล่วงถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์มีพระราชประสงค์ให้สร้างเจดีย์ให้สูงใหญ่ขึ้นกว่าเดิม เพื่อความสง่างามและเป็นจุดหมายตาสำหรับเรือสินค้าของชาวต่างชาติว่ามาถึง สยามแล้ว จึงมีการสร้างเจดีย์ทรงระฆังคว่ำ สูง 39.75 เมตร ครอบทับพระเจดีย์องค์เดิม ดังที่เห็นในปัจจุบัน คำเรียก ?พระเจดีย์กลางน้ำ? นั้นมาจากเดิมพระเจดีย์ตั้งอยู่บนเกาะกลางปากแม่น้ำเจ้าพระยา


3.ประเพณีแห่หงส์ธงตะขาบ





ธงตะขาบเป็นประเพณีของอำเภอพระประแดง โดยเฉพาะประเพณีเริ่มต้นมานานกว่า ๓๐ ปี จะจัดขึ้นทุกวันที่ ๑๓ เมษายนของทุกปี โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรำลึกถึงบรรพบุรุษชาวมอญ หงส์ เป็นสัญลักษณ์ตัวแทนตำนานการกำเนิดถิ่นฐานของมอญ ณ กรุงหงสาวดี และตะขาบเป็นสัญลักษณ์ของคติธรรม ความเชื่อทางพุทธศาสนาที่เปรียบดังสัดส่วนในอวัยวะต่าง ๆ ของตัวตะขาบ ชาวมอญทั้ง ๗ หมู่บ้าน จะร่วมกันจัดทำธงตะขาบของหมู่บ้านตน และหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ โดยมารวมตัวกันที่ศูนย์วัฒนธรรมอำเภอพระประแดง ตั้งขบวนแห่ไปตามจุดต่าง ๆ ของตลาดพระประแดงหลังจากเสร็จการแห่ ชาวมอญแต่ละหมู่บ้านก็จะนำธงตะขาบไปแขวนที่เสาหงส์ของแต่ละวัดในหมู่บ้าน


4.งานแห่เจ้าพ่อทัพสำโรง



ชาวจีนที่อาศัยอยู่ในตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ เชื่อว่าเจ้าพ่อทัพช่วยให้พวกเขาสร้างฐานะจนร่ำรวยจากการทำมาหากิน พวกเขาจึงได้สร้างศาลเจ้าพ่อทัพไว้เป็นที่สักการบูชา ทุกปีจะมีการจัดงานแห่เจ้าพ่อทัพที่ข้างห้างอิมพิเรียลเวิลด์ สำโรง ในวันอาทิตย์ราวปลายเดือนมกราคม ถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ ในขบวนแห่ประกอบด้วยวงดุริยางค์ของโรงเรียนมัธยมด่านสำโรง เป็นขบวนนำตามด้วยขบวนอื่น ๆ โดยขบวนจะแห่ผ่านถนนสุขุมวิทและวกกลับไปทางถนนปู่เจ้าสมิงพรายกลับไปยังศาลเจ้าพ่อทัพ เมื่อขบวนเหล่านั้นผ่านร้านค้า เจ้าของร้านจะออกมาต้อนรับด้วยการบริจาคเงินร่วมทำบุญ มีการจัดงานเฉลิมฉลอง ๓ วัน ๓ คืน ในงานมีการเล่นงิ้ว


5.สงกรานต์พระประแดง






เป็นงานประเพณีสงกรานต์ที่ยิ่งใหญ่ของภาคกลาง จัดโดยความร่วมแรงร่วมใจของชาวไทยเชื้อสายมอญในแต่ละปี สงกรานต์พระประแดง จะเริ่มในวันอาทิตย์แรกหลังวันที่ 13 เมษายน

พระประแดงซึ่งเดิมเรียกว่า “สงกรานต์ปากลัด” ในงานมีขบวนแห่นางสงกรานต์ การละเล่นพื้นเมืองของชาวมอญ เช่น มีการสรงน้ำพระรดน้ำขอพรผู้ใหญ่ ปล่อยนกปล่อยปลา การเล่นสะบ้าและเล่นสาดน้ำกันอย่างสนุกสนาน

ขบวนแห่นางสงกรานต์จะมีสาวงามแต่งชุดไทยหรือชุดรามัญ (มอญ) เดินแถวเรียงหนึ่ง ส่วนหนึ่งถือโหลปลาและอีกส่วนหนึ่งถือกรงนก เดินนำหน้ารถนางสงกรานต์ ขนาบข้างด้วยชายหนุ่มชาวรามัญที่แต่งกายด้วยผ้าโสร่ง สวมเสื้อคอกลม ห่มผ้าสไบคล้องคอ ตวัดชายสไบไปด้านหลังซึ่งเรียกว่าชุดลอยชาย ชายหนุ่มเหล่านี้มีหน้าที่คอยดูความเรียบร้อยของขบวนแห่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น